bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

ชุมชนเทศบาลตำบลบ่อ

ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์ได้รับ BioEconomy Promotion Mark

ชุมชนเทศบาลตำบลบ่อ

ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์ได้รับ BioEconomy Promotion Mark

            ประวัติความเป็นมาของชุมชนเทศบาลตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้เล่าความเป็นมาให้ฟังว่า ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่ดั้งเดิมนั้นเป็นกลุ่มชนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เช่น ขอม ชอง กุลา ไทย และจีน สืบเนื่องจากสมัยก่อนบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่ติดต่อกับหลายชนชาติ และติดต่อกับทะเลด้วยจึงมีการอพยพ และไปมาหาสู่จนกระทั่งตั้งหลักปักฐานทำมาหากินในบริเวณดังกล่าวบ้านบ่อล่าง ได้เริ่มก่อตั้งมานานกว่า 100 ปีแล้ว คนกลุ่มแรกที่เริ่มเข้ามาก่อตั้งหมู่บ้าน คือ ชนกลุ่มกุเหร่า ชองและเขมร เหตุที่อพยพมาอยู่เพื่อหาแหล่งพื้นที่นา เริ่มโดยการหาแหล่งน้ำจืด เพื่อใช้ในการเกษตรและใช้บริโภค โดยการขุดเจาะบ่อน้ำจึงเป็นที่มาในการตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบ่อ” ซึ่งพื้นที่หมู่ที่ 4 เรียกว่า “บ้านบ่อล่าง” ส่วนหมู่ที่ 3 เรียกว่า บ้านบ่อบน เนื่องจากสภาพพื้นที่แตกต่างกัน แต่ในอดีตสภาพพื้นที่หมู่บ้านเป็นป่ายางหนาทึบ มีหนองน้ำ มีทุ่งหญ้าติดแม่น้ำ ชุมชนตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นชุมชนที่อยู่ริมฝั่งทะเล บริเวณปากแม่น้ำเวฬุ ที่เป็นแม่น้ำกั้นระหว่างจันทบุรีและจังหวัดตราด ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ ทำสวนผลไม้ ประมงชายฝั่ง เนื่องจากมีทรัพยากรที่สำคัญคือ สวนผลไม้ ป่าชายเลน และชายฝั่งทะเล ด้วยเหตุนี้ชุมชนจึงหาอยู่หากินดำรงชีวิตอยู่ภายใต้ฐานทรัพยากรนั้น โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลนซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ อุดมสมบูรณ์ของพันธุ์พืช ต่อมาชุมชนมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเทศบาลตำบลบ่อ มีสมาชิก จำนวน 83 คน ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มชาขลู่ เครื่องสำอางจากสมุนไพร และผ้าย้อมสีธรรมชาติซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดถูกพัฒนามาจากวัตถุดิบฐานทรัพยากรชีวภาพในระบบนิเวศน์พื้นที่ป่าชายเลนในชุมชนที่อุดมสมบูรณ์

ทรัพยากรเด่นของชุมชน

ทรัพยากรเด่นของชุมชน คือ ใบขลู่ และสมุนไพรเหงือกปลาหมอ ซึ่งมีมากมายในพื้นที่ป่าชายเลน และมีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรจากป่าชายเลนที่เกิดจากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ได้แก่ ชาสมุนไพรใบขลู่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากขลู่เป็นพืชที่ขึ้นในพื้นที่ป่าชายเลนสามารถนำมารับประทานได้ ใบนำไปตากแห้งใช้ทำชา ดื่มแก้กระหายน้ำ ช่วยลดน้ำหนัก ฤทธิ์ทางยาของขลู่ใบนำมาต้มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ จากประโยชน์ทางยาสมุนไพรมักนำมาทานเป็นยารักษาโรคนานาชนิด อาทิ เช่น โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ปรับความดันโลหิต และยังช่วยให้ระบบการทำงานของไตดีขึ้น ลดไขมันและการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะและนิ่ว ช่วยให้ระบบขับถ่ายสมบูรณ์ อีกทั้งยังนำไปต้มและนำน้ำที่ได้นั้นมาอาบเพื่อรักษาโรคผิวหนังได้อีกด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเทศบาลตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีได้นำใบขลู่มาแปรรูปเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรใบขลู่เป็นผลิตภัณฑ์แรกๆของกลุ่ม นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดจนถึงปัจจุบันเป็นทรัพย์สมบัติทางภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการผลิตชาสมุนไพรใบขลู่นั้นไม่ใช่เพียงคุณภาพเท่านั้นแต่รวมถึงการรักษาและสืบทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน ทุกขั้นตอนการแปรรูปทำอย่างพิถีพิถันด้วยกรรมวิธีการผลิตด้วยแรงงานคนโดยไม่ใช้เครื่องจักรต่างๆ นอกจากนี้ชาขลู่ยังได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์มาตรฐานของบริษัทห้องปฏิบัติงานกลางประเทศไทย จำกัด ในเรื่องของสรรพคุณและความปลอดภัยในการบริโภค นอกจากนั้นแล้วใบขลู่ยังสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอางต่างๆ เพื่อมูลค่าทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพในชุมชนอีกด้วย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาที่สืบทอดจนถึงปัจจุบัน

ช่องทางการติดต่อ

ประธานชุมชน

นางนพ สิงหวัน

ผู้ประสานงาน

นายเกษม จ่าพันดุง

080 0162442