bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปน้ำหมากเม่าบ้านบัว

ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (ชุมชนบ้านบัว)

“เพิ่มมูลค่า จากคุณค่าของภูมิปัญญาบรรพชน”

            เพราะการพัฒนา คือการก้าวเดินอย่างไปข้างหน้า วิสาหกิจชุมชนของเครือข่ายอินแปง จึงเน้นการจัดการและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน มุ่งผลิตสินค้าธรรมชาติที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน จากหนึ่ง เป็นสอง ถักทอเป็นเครือข่าย ขยายความร่วมมือ ส่งต่อความรู้ สร้างผู้สืบทอด วิสาหกิจชุมชนของเครือข่ายอินแปง เน้นการจัดการและการแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน มุ่งผลิตสินค้าธรรมชาติที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมหุ้มร่วมลงทุนในวิสาหกิจต่างๆ ของสมาชิกเครือข่าย และนำกำไรที่เหลือจากการปันผลมาสร้างเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิก ปัจจุบันเครือข่ายอินแปงมีกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนและมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น การเพาะพันธุ์กล้าไม้ น้ำผลไม้พื้นที่บ้าน ข้าวฮาง ผ้าย้อมครามและสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โรงงานปุ๋ยชีวภาพ ความภูมิใจ ไม่ได้อยู่ที่รายได้ หากแต่เป็นความเอมอิ่มที่ได้จากการ

          วิสาหกิจชุมชนของเครือข่ายอินแปง เน้นการจัดการและการแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน มุ่งผลิตสินค้าธรรมชาติที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมหุ้มร่วมลงทุนในวิสาหกิจต่างๆ ของสมาชิกเครือข่าย และนำกำไรที่เหลือจากการปันผลมาสร้างเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิก ปัจจุบันเครือข่ายอินแปงมีกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนและมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น การเพาะพันธุ์กล้าไม้ น้ำผลไม้พื้นที่บ้าน ข้าวฮาง ผ้าย้อมครามและสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โรงงานปุ๋ยชีวภาพ

ทรัพยากรเด่นของชุมชน

หมากเม่า หรือมะเม่าสุกมีปริมาณสารอาหาร วิตามิน กรดอินทรีย์ และกรดอะมิโนที่จำเป็นหลายชนิด และเมื่อนำผลมะเม่าสุกมาทำการวิเคราะห์ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระจำพวกสารแอนโทไซยานินและสารกลุ่มโพลีฟีนอล พบว่า น้ำมะเม่า 100 กรัม มีสารแอนโทไซยานิน 299.9 มิลลิกรัม และสารโพลีฟีนอล 566 มิลลิกรัม ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ชะลอความแก่ชรา ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดอุดตันในสมอง และช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่ายอีกด้วย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลไม้ป่ามีมาตั้งแต่ดั้งเดิมอยู่แล้ว ซึ่งทางกลุ่มวิสาหกิจฯมองเห็นความสำคัญ เพราะเป็นทรัพยากรในท้องถิ่นอยู่แล้ว ถ้าเรารู้ว่าเราถนัดอะไรและสนใจพืชผลชนิดไหนที่มีประโยชน์ก็ควรจะอนุรักษ์และรักษาไว้ อย่างไรก็ตาม นอกจากนำมากินตามฤดูกาลแล้ว หากอยากรู้เพิ่มว่าพืชผลที่เราสนใจนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้างให้ไปถามปู ย่า ตา ยาย หรือหมอสมุนไพรภายในชุมชนว่ามีสรรพคุณอะไรบ้าง และในขณะเดียวกันหากเราได้ความรู้แล้วก็ต้องนำไปบอกต่อรุ่นลูกรุ่นหลานให้เขาได้อนุรักษ์ไว้

ช่องทางการติดต่อ

ประธานชุมชน

นางสาววรรณภา ศรีมุกดา

097-2621574

ผู้ประสานงาน

นายธวัชชัย กุณวงษ์

081-4312991