bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามผ้าไหมบ้านกุดแฮด

ตำบลกุดบาก อ.กุดบาก จ. สกลนคร

ชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์ได้รับ BioEconomy Promotion Mark

วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามผ้าไหมบ้านกุดแฮด

ตำบลกุดบาก อ.กุดบาก จ. สกลนคร

ชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์ได้รับ BioEconomy Promotion Mark

              มรดกอันล้ำค่าของชุมชนบ้านกุดแฮด คือ ความเป็นชนเผ่า “กะเลิง” ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมดั่งเดิมของชาวกะเลิงไว้ได้อย่างเหนียวแน่น รวมทั้ง เป็นปัจจัยสำคัญที่ร้อยรัดผู้คนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนี้ วิถีชีวิตคนกะเลิงยังมีความเข้าใจธรรมชาติ และสามารถดำรงชีพอย่างพอเพียงร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็น“คุณค่า” ที่ส่งผลถึงการสร้างความเข็มแข็งของชุมชน ชาวกะเลิงมักนิยมปลูกฝ้าย และนำมาทอเป็นเสื้อผ้าย้อมครามทอมือ เพราะเชื่อว่าครามเป็นต้นไม้ที่มีชีวิตและจิตวิญญาณของธรรมชาติเทียบได้กับเทพยดา เมื่อนำมาสวมใส่ก็จะเหมือนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ยิ่งกว่านั้น ชาวกะเลิงยังมีภูมิปัญญาในการย้อมผ้าด้วยเทคนิคธรรมชาติ และมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นซึ่งสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จากรุ่นสู่รุ่น ผ้าย้อมครามของบ้านกุดแฮดจึงมีความเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกตัวตนของคนในชุมชน และประการสำคัญคือ ทุกอย่างล้วนเกิดจากพลังของคนในชุน ทุกรุ่น ทุกวัย เพราะการย้อมผ้าครามไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกขั้น ทุกตอนการย้อมผ้าคราม ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเป็นอย่างมาก และมองให้ลึกไปกว่านั้น กว่าจะได้มาเป็นเส้นด้ายแต่ละเส้นต้องผ่านการทอจนออกมาเป็นผืนผ้า ความละเอียดอ่อน ความใส่ใจ ทำให้ผ้าทุกผืน มีจิตวิญญาณ และความปรารถนาดีของคนทอ คนทำ ทุกเส้นสายลายทอ คือ ชีวิตบนผืนผ้า

ทรัพยากรเด่นของชุมชน

– ฝ้าย จัดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มขนาดกลาง แต่ในทางการเกษตร จะจัดเป็นประเภทพืชล้มลุก เนื่องจากต้นฝ้ายที่มีอายุ 2-3 ปี มักให้ผลผลิตน้อยทำให้ต้องทำการเพาะปลูใหม่ทุกปี เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สูงประมาณ 2-5 ฟุต แตกกิ่งเวียนรอบต้น การเก็บฝ้ายในประเทศไทยนิยมเก็บด้วยมือ โดยเลือกผลฝ้ายที่แก่และแตกแล้ว จากนั้นดึงเส้นใย(ส่วนของ epidermal cell) ออกจากสมอ แล้วส่งไปโรงงานเพื่อแยกเมล็ดออก กระบวนการแยกเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้าย เรียกว่า “หีบฝ้าย” ส่วนของเส้นใยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณต์ต่างๆ ขณะที่ส่วนเมล็ดฝ้ายซึ่งมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบจะถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมันเมล็ดฝ้าย – ต้นคราม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขามาก บ้างว่าแตกกิ่งก้านน้อย มีความสูงของต้นประมาณ 4-6 ฟุต หรือสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมสีเขียว มักพาดเกาะตามสิ่งที่อยู่ใกล้กับลำต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยเป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดด ทนทานต่ออากาศร้อน ฝน และดินเค็มได้ดี พบขึ้นได้ตามป่าโปร่งทางภาคอีสานและทางภาคเหนือจะนิยมปลูกต้นครามไว้เพื่อใช้สำหรับทำสีย้อมผ้า และมักขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไปตามสวน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ทุนด้านทรัพยากรที่เป็นภูมิปัญญาในการทำการเกษตรแบบธรรมชาติที่สั่งสมความรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน เช่น ความรู้ในการใช้ยาสมุนไพร ศิลปะหัตกรรมพื้นบ้านต่างๆ เช่น เครื่องจักสาน ผ้าทอสีธรรมชาติ ผ้าฝ้ายย้อมคราม เป็นต้น

ช่องทางการติดต่อ

ประธานชุมชน

นางละคร จำวงลา

098-4858685

ผู้ประสานงาน

วรรณิภา ศรีมุกดา

097-2621574