bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

ชุมชนกลุ่มแม่บ้านทำผงนัวบ้านยางโล้น

ตำบลโคกภู อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร

       ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน คนโบราณมักจะนำผักพื้นบ้านมาโขลกกับข้าวเหนียวแช่น้ำ หรือข้าวเบือ มาปั้นเป็นก้อนแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง เก็บไว้ใช้ผสมอาหารให้มีรสชาติน่ารับประทานมากขึ้น…คนรุ่นเก่าเรียกก้อนผักนี้ว่า แป้งนัว หรือนัว ในภาษาอีสาน แปลว่า “อร่อย+กลมกล่อม” ชุมชนเครือข่ายอินแปงที่บ้านยางโล้น ตำบลโคกภู อำเภอภูพานได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนขึ้น โดยใช้ผักพื้นบ้านที่มีรสชาติที่แตกต่างกัน เช่น รสหวาน มัน เปรี้ยว นำามาผสมกันอย่างลงตัว เรียกตามภาษาพื้นบ้านว่า ผงนัว สามารถนำาไปเป็นส่วนผสมในอาหารได้ทุกประเภทเป็นการเพิ่มรสชาติอาหารให้มีความกลมกล่อมและมีความอร่อยมากขึ้น ผงปรุงรสสมุนไพร (ผงนัว) : ในอดีต ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานนำาพืชผักบางชนิดมาใช้ปรุงอาหารเพื่อเพิ่ม รสชาติให้อร่อย เช่น นำาใบหม่อน ใบน้อยหน่า มาใส่ต้มไก่ต่อมามีผู้นำาพืชผักสมุนไพรหลายชนิดมาแปรรูปเพื่อใช้เป็นเครื่องปรุงรส เรียกว่า “ผงนัว” เก็บไว้ใช้ทำาต้ม แกง ลาบก้อยและอาหารอื่น ๆ ทำาให้ใช้ได้สะดวก สามารถเก็บไว้ได้นานเช่น ในจังหวัดสกลนคร มีการทาผงนัวโดยใช้สมุนไพร 12 ชนิด ได้แก่ ใบผักหวาน ใบมะรุม ใบหม่อน ใบกระเทียม ใบหอม ใบมะขาม ใบกระเจี๊ยบ ผักโขมทั้งต้น ใบส้มป่อย ใบน้อยหน่า ใบชะมวงและใบกุยช่าย โดยนำามาตากแดดให้แห้งตำาให้ละเอียดแล้วผสมกันเก็บไว้ใส่อาหารเวลาต้มแกง ผลิตภัณฑ์ผงนัวเป็นการนำผักที่มีสรรพคุณทางยาที่ให้รสหวาน มัน เผ็ด เปรี้ยว มาตากแห้งแล้วบดเป็นผงคลุกเคล้าให้เข้ากันเป็นเครื่องปรุงรส

ทรัพยากรเด่นของชุมชน

สมุนไพร 12 ชนิด ได้แก่ ใบผักหวาน ใบมะรุม ใบหม่อน ใบกระเทียม ใบหอม ใบมะขาม ใบกระเจี๊ยบ ผักโขมทั้งต้น ใบส้มป่อย ใบน้อยหน่า ใบชะมวงและใบกุยช่าย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานในเรื่องการทำผงนัว

ช่องทางการติดต่อ

ประธานชุมชน

นางนวลมณี นุชศิริ

081 0519521

ผู้ประสานงาน

คุณเนตรชนก มุศิริ

เบอร์โทร