bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

“แอ่วเวียงพิงค์เมืองใหญ่ ยะงานพัฒนาของกิ๋น-ของใจ๊ เฮียนฮู้ปลูกไผ่สร้างรายได้ แลสมุนไพรถิ่นเมืองเหนือ ผ่อฟาร์มผึ้งเครือข่ายชุมชน ขยายผลผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ” กิจกรรมศึกษาดูงาน Knowledge Base กลุ่มอาหาร

ในวันที่ วันที่ 20 – 24 มกราคม 2563 กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้การดำเนินงานของ สพภ. นำคณะพี่น้องชุมชนเครือข่ายฯ เดินทางไปศึกษาดูงาน การพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้ของชุมชนเครือข่าย กลุ่มอาหารแปรรูป/ข้าว/ชา/ที่ชงดื่ม/เครื่องดื่มฯ/กาแฟ/น้ำผึ้ง/ผึ้ง ณ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำสวนเพื่อการผลิตและแปรรูปผลผลิตเกษตร ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน , วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสมบ้านไร่กอค่า ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน , วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผัก สมุนไพร และผลไม้ ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน , วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหมู่บ้านสมุนไพรและการท่องเที่ยวบ้านเมืองกื้ด ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันมหาพนสมุนไพรอินทรีย์ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

กิจกรรมจะเป็นการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับการสร้างแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม ความโดดเด่นและแตกต่างจากตลาด เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพตามหลักการ BEDO Concept เพื่อให้ชุมชนมีองค์ความรู้ด้านการผลิต การควบคุมคุณภาพ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มาตรฐานการผลิต การบริหารจัดการ การตลาด และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดย ผู้เชี่ยวชาญจาก ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต่อจากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมา หลักการ แนวคิดในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำสวนเพื่อการผลิตและแปรรูปผลผลิตเกษตร ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยคุณเอกสิทธิ์ จันทกลาง รองประธานวิสาหกิจฯ ได้บรรยายให้เรื่องของการความเป็นมาของกลุ่ม ก่อนจะมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มและทำธุรกิจขนาดย่อมเกี่ยวกับผลผิตทางการเกษตร (ลำไย) ทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ทำงานเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความสามารถในการต่อรองกับพ่อค้าชาวต่างชาติ ภายใต้แบรนด์ “แสงผึ้ง” ซึ่งน้ำผึ้งเกสรดอกไม้นานาชนิด และดอกลำไย เน้นถึงความสำคัญของคุณภาพ และอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ มีกระบวนการเก็บด้วยกรรมวิธีธรรมชาติ อันเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานจาก อย.และ GMP ทำให้ได้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพบริสุทธิ์และคงคุณค่าไว้อย่างเต็มเปี่ยมทั้ง ในด้านโภชนาการและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ เน้นพื้นที่สวนลำไยที่มีการบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ หรือปลอดสารพิษของพื้นที่กลุ่มสมาชิก นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการลี้ยงผึ้งและการเก็บน้ำผึ้ง การบรรยายเรื่องการบริหารจัดการงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับชมสาธิตและลองทำสบู่ก้อนผสมน้ำผึ้งอีกด้วย

เดินทางกันต่อไปยังวิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสมบ้านไร่กอค่า ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดย คุณสุพล จันทร์อ้วน ประธานฯ ได้บรรยายและพาเยี่ยมชมสวนไผ่ชุมชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่ การแปรรูปหน่อไม้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตามภูมิปัญญาชาวบ้าน การขยายพันธุ์ไผ่ และพาเยี่ยมชมสวนไผ่ชุมชน ซึ่งทางชุมชนได้ปลูกไผ่แต่ละชนิด ได้แก่ ไผ่ตง ไผ่ไร่ ไผ่รวก ไผ่ป่า ไผ่ซางป่า ไผ่ซางนวล เป็นต้น โดยไผ่แต่ละชนิดมีประโยชน์ทางการใช้สอย และเชิงพาณิชย์แตกต่างกันออกไป

และเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผัก สมุนไพร และผลไม้ ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน โดยคุณชนะ ไชยชนะ ประธานฯ ได้บรรยายและพาเยี่ยมชมการดำเนินงานของกลุ่มฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพร และผลไม้ จากการทำสวนลำไย มะม่วง กะเทียม หอมแดง และสมุนไพรอื่นๆ ที่สมาชิกปลูกแล้วมาปรับเปลี่ยนเป็น การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้รับการรับรอง Organic Thailand และ IFOAM จนตอนนี้ได้กลายเป็นหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ Organic Village อันดับที่ 13 เพื่อส่งเสริมและผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนา ตลาดสินค้าอินทรีย์ เพิ่มช่องทางการจำหน่าย ขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขีดความสามารถด้านการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ชุมชน

นอกจากนี้ยังได้ขึ้นเขาไปเยี่ยมชมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหมู่บ้านสมุนไพรและการท่องเที่ยวบ้านเมืองกื้ด ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พบกับคุณเนตรนภา อินเตชะ ประธานฯและคณะ ซึ่งช่วยบระยายความเป็นมากว่าจะเป็นการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมกับชมสาธิตการทำงานของกลุ่มฯ โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ 3 ฐานดังนี้ ฐานที่ 1 กิจกรรมแช่มือ แช่เท้า สมุนไพร ฐานที่ 2 แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการจักสาน และฐานที่ 3 แหล่งเรียนรู้วิสาหกิจกลุ่มนวดเพื่อสุขภาพ

และสุดท้ายได้เดินทางไปยังวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสันมหาพนสมุนไพรอินทรีย์ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยคุณญาณธิชา น้ำเพชร ได้บรรยายในส่วนความเป็นมาและการทำงานของกลุ่มฯ การรวมกลุ่มปลูกผักพื้นบ้านภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานแหล่งวัตถุดิบออร์เกนิคในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตง โดยเฉพาะ “ผักเชียงดา” ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดเบาหวาน และความดัน พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผักเชียงดา ที่มีคุณภาพและมาตรฐานรับรองทั้งในและต่างประเทศ อาทิ เช่น มาตรฐาน อย./USDA Organic อเมริกา/Organic Cannada/IFOAM มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ยุโรป/มาตรฐานอาหารฮาลาล มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้มาตรฐานโรงเรือนการผลิต GMP และมีการแปรรูปรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ภายใต้แบรนด์ “กาทอง” เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า โดยมีการจัดจำหน่ายทั่วประเทศและต่างประเทศ ทำให้ชุมชนมีรายได้ทางเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งวัตถุดิบผักพื้นบ้านที่ปลอดภัยภายใต้ระบบการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน