bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

ชุมชนกลุ่มประดิษฐ์และแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน

ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

BIO

ชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลิตภัณฑ์ได้รับ BioEconomy Promotion Mark

“ชาสมุนไพรไทย สู่ตลาดโลก”

         การได้สัมผัสกับชุมชนแม่ทาที่มีถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ราบหุบเขา โอบล้อมไปด้วยเทือกเขาใหญ่น้อย เป็นภาพที่สลับซับซ้อน มีลำน้ำแม่ทาคอยหล่อเลี้ยงชีวิต ทุกอย่างดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ การอยู่ การกิน ดูมีความปลอดภัยอุ่นใจเพราะเป็นเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะผลิตพืช ผัก ผลไม้ ล้วนกินได้อย่างสบายใจไร้กังวล จนทำให้ชุมชนแม่ทาได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้าน Organic

          ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนเก่าแก่ประมาณอายุราว 300 ปี มีชนเผ่าต่างๆ เช่น ลั๊วขุนคง อพยพมาจากแจ่งหัวริน เมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงแสน(เชียงราย) หนีผ่ายศึกหัวเมืองเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ ชาวละกอนหนีศึกจากเมืองเขลางนคร(ลำปาง) มาอยู่รวมกัน สัญชาติเป็น ขมุ เขมร และกลุ่มคนยองที่อพยพมาจากเมืองลำพูนเป็นกลุ่มที่มาทีหลัง ซึ่งปัจจุบันชนเผ่าดังกล่าวได้ถูกกลืนเข้าไปเป็นกลุ่มคนพื้นเมืองที่มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน ยกเว้นกลุ่มคนยองที่ยังคงอนุรักษ์ภาษาไว้ ลักษณะพื้นที่ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบหุบเขา มีเทือกเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อน พื้นเป็นป่าเขา มีลำน้ำแม่ทาเป็นสายหลักในการดำรงชีวิต อาชีพส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม การรวมกลุ่มกิจกรรม ตำบลแม่ทา เริ่มมีการรวมกลุ่มกันแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 โดยการทำการเกษตรอินทรีย์ทำให้ชุมชนผลิตผัก ผลไม้และมีแหล่งวัตถุดิบพืชสมุนไพรที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพสู่ผู้บริโภค เดิมชุมชนยังไม่มีการรวมกลุ่ม และจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชุมชนขาดความรู้ในเรื่องของการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ขาดสถานที่ผลิตที่เป็นสัดส่วนและถูกสุขลักษณะ และยังไม่มีการพัฒนาในเรื่องของฉลาก กล่องบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม อีกทั้งยังขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ 

            ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2552 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(องค์การมหาชน) เข้ามาส่งเสริมให้ชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชน สู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน โดยชุมชนได้ร่วมกิจกรรมในการศึกษา สำรวจ ทรัพยากรชีวภาพในชุมชน วิเคราะห์ทรัพยากรเด่นที่จะสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ จัดกิจกรรมฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน การปรับปรุงโรงเรือนการผลิต การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ การพัฒนาฉลากบรรจุภัณฑ์ ซึ่งผลการดำเนินงานสู่การจัดทำแผนงานส่งเสริมอาชีพ ซึ่งจากเวทีดังกล่าวเกิดแผนส่งเสริมอาชีพ โดยการนำวัตถุดิบที่เป็นเกษตรอินทรีย์มาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ สู่การส่งเสริมการตลาด ต่อยอดกิจกรรมเดิมที่ทางชุมชนเคยดำเนินการ โดยจัดตั้งในรูปกลุ่มวิสาหกิจชุมชน นาม “กลุ่มประดิษฐ์และแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน” มีการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพยากรชีวภาพชุมชน ในด้านเศรษฐกิจและตอบสนองต่อความต้องการด้านการตลาด 

            กิจกรรมหนึ่งที่กลุ่มดำเนินงาน ได้แก่ การทำชาชงสมุนไพร การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด จึงเป็นทางออกทางหนึ่ง ที่ชุมชนได้ดำเนินการพัฒนาทักษะการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรในรูปแบบของชาชงพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ มีการพัฒนาฉลากบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง การสนับสนุนชุมชนจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อถ่ายทอดความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มชงสมุนไพรเพื่อสุขภาพจากแหล่งวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์

ทรัพยากรเด่นของชุมชน

            ชุมชนแม่ทาเริ่มมีการรวมกลุ่มกันแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ชาชงสมุนไพร จากทรัพยากรที่โดดเด่น อาทิ ผักเชียงดา ดาวตอง มะรุม กระเจี๊ยบ โดยมีการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน การปรับปรุงโรงเรือนการผลิต การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ การพัฒนา ฉลากบรรจุภัณฑ์ ซึ่งผลการดำเนินงานสู่การจัดทำแผนงานส่งเสริมอาชีพ และต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ สู่การส่งเสริมการตลาด เพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าทรัพยากรชีวภาพชุมชน และยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านการตลาดอีกด้วย

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ช่องทางการติดต่อ

ประธานชุมชน

นางอารีย์ ปาคำน้อย

086 – 4374996

ผู้ประสานงาน

นางสาวนพรัตน์ ดวงแก้วเรือน

086-7062550