bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

วิสาหกิจชุมชนแก่งเสือเต้น

บ้านแม่เต้น ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่

         สุรากลั่นชุมชน สุราพื้นบ้าน หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า “เหล้า” เป็นวัฒนธรรม ประเพณี เคียงคู่วิถีชีวิตชาวบ้านชนบทพื้นเมืองของไทยมากกว่าสองร้อยปีมาแล้ว สม้ยก่อนเวลามีงานเทษกาลหรืองานประเพณีต่างๆ ก็จะใช้สุราเป็นตัวประกอบพิธี เช่น การตั้งขัน หรือการยกครู เป็นต้น เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธ์ สุราหรือเหล้าเดือนห้า (เหนือ) เก็บไว้กับบ้านเพื่อป้องกันฟ้าผ่าซึ่งเป็นตำนานเล่าต่อกันมาว่า ถ้ามีฝนตกหัวปีแล้วเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ ฟ้าผ่าให้ดื่มเหล้าเดือนห้านิดหน่อย หรือไม่ให้เอาเหล้าเดือนห้านั้นทาที่บริเวณศรีษะก็ป้องกันฟ้าผ่าได้ นอกจากนี้สุรายังเป็นตัวยาตัวหนึ่งซึ่งใช้ในการผสมกับสมุนไพรใช้ดื่มหรือทาแก้โรคบางอย่างได้ตามตำราหมอพื้นบ้าน เช่น โรคลมพิษ ฯลฯ วิสาหกิจชุมชนสุราแก่งเสื้อเต้น เป็นธุรกิจผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทสุรากลั่นชุมชน และสุราแช่พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงในจังหวัดแพร่และใกล้เคียง จัดจำหน่ายสินค้าในรูปแบบของขวดแก้ว มีการบรรจุและปิดฝาภาชนะไปตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งสะอาดและผ่านกรรมวิธีที่ถูกต้อง โดยการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายอย่างข้าวเหนียวและสมุนไพร มาทำตามบรรพบุรุษตามที่พบเห็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ นำมาเป็นแบบอย่างพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยและพัฒนาคุณภาพให้สามารถออกสู่ตลาดจนเป็นที่รู้จักและยอมรับ อีกทั้งยังมองเห็นว่าธุรกิจนี้สามารถสร้างอาชีพให้ชาวบ้านและเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง ครอบครัว และสมาชิกกบุ่ม จึงร่วมมือร่วมใจ ร่วมสร้างผลิตภัณฑ์มาจนถึงปัจจุบัน

ทรัพยากรเด่นของชุมชน

สมุนไพรพื้นบ้าน คือ ขิง ข่า พริกไทย กระเทียม พริก ผักย่านาง ดีปลี ใบมะค่าง เป็นต้น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

– การใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นที่หาได้ง่ายอย่างข้าวเหนียวและสมุนไพรมาทำตามแบบของบรรพบุรุษตามที่ได้พบเห็นมาตั้งสมัยโบราณ
– การใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำสุราทั้งความเชื่อและประเพณีที่มีมาแต่ครั้งสมัยก่อน เช่น การทำลูกแป้งก็ถือเป็นความเชื่อ คือเดือนสามชาวเหนือจะไม่นิยมปั้นลูกแป้งกัน ปั้นแล้วลูกแป้งจะไม่ดีแป้งจะเสีย
– มีการใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการกลั่นสุราในสมัยโบราณของชุมชนสะเอียบก็ถือตามความเชื่อ คือ วันเนาและเวลามีงานศพจะไม่มีการกลั่นสุรา ถ้ามีการกลั่นแล้วจะทำให้สุรานั้นเสียได้
– มีการใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการบรรจุน้ำสุราในสมัยก่อนจะใช้หม้อดินเผา เป็นภาชนะบรรจุไว้แล้วใช้ปล้องไม้ไผ่แทนการใช้ขวดหรือแก้วเหล้าสำหรับใช้ดื่ม การที่เราเลือกใช้หม้อดินเผานั้น คือจะทำให้สุราที่บรรจุในหม้อนั้นเกิดความหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

ช่องทางการติดต่อ

ประธานชุมชน

นางดารารัตน์ สลักหล่าย

086 – 1948282

ผู้ประสานงาน