bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มห้อมนาคูหา

ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

       “บ้านนาคูหา” ตั้งอยู่ที่ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ 25 กิโลเมตร ใช้ถนนหมายเลข 1024 หมู่บ้านตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาและธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ จนได้ชื่อว่าเป็นแหล่งโอโซนอันดับ 7 ของประเทศไทย ชาวบ้านที่นี่ยังคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำเกษตร การทำนาข้าว สลับกับการปลูกถั่วลิสง ไร่ข้าวโพด และการปลูกชา หลังจากได้รับการส่งเสริมให้ทำเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกอาชีพหนึ่งที่ชาวบ้านในบ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ทำกัน คือการทำเนื้อห้อมเปียก และการตัดเย็บเสื้อผ้าหม้อห้อม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของคนจังหวัดแพร่ เป็นการพัฒนาผ้าหม้อห้อมให้ไปสู่สากล และรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของผ้าหม้อห้อมให้ยั่งยืน และสืบทอดต่อไป เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ผ้าหม้อห้อมของดีจังหวัดแพร่ มีเอกลักษณ์จำเพาะของผ้าหม้อห้อม เป็นเส้นใยฝ้ายธรรมชาติย้อมสีธรรมชาติ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการนำเอาใบห้อม ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่น ผสมผสานกันอย่างลงตัวด้วยกรรมวิธีการย้อมตามสูตรโบราณผ่านกระบวนการทอด้วยมือผสมกับอารยธรรมท้องถิ่น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก่อกำเนิดเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าอาภรณ์ เรียกขานกันว่า “เสื้อหม้อห้อม” พร้อมทั้งพัฒนาไปสู่สากล เป็นผลิตภัณฑ์สูทหม้อห้อม ซึ่งสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันเลื่องชื่อจนเป็นที่ยอมรับของชาวไทย ชาวต่างชาติที่แวะเข้ามาชนและเลือกซื้อ

ทรัพยากรเด่นของชุมชน

ต้นห้อม เป็นพืชชนิดหนึ่งสีสามารถนำมาทำให้เป็นสารสีครามสำหรับย้อมผ้าได้ ห้อมเป็นพืช ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงมีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามรูปวงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ดอกออกเป็นช่อที่ชอกใบมีด อกย้อยหลายดอก กลีบดอกสีม่วงเชื่อมติดกันเป็น หลอดโค้งงอเล็กย้อย ลำต้นสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยลำต้นนำมาปักชำไว้รากจะงอกบริเวณข้อ ห้อมชอบอยู่ในที่ร่มเย็นแดด ในจังหวัดแพร่

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

– การนำภูมิปัญญาย้อมผ้าม่อฮ่อมผลิตเสื้อผ้าสำหรับใส่ ทั้งหญิง ชาย ทั้งใส่ทำเรือกสวนไร่นา และใส่ในชีวิตประจำวัน เพราะเนื้อผ้าใส่สบาย และไม่ร้อนเหมาะกับอากาศท้องถิ่น และได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยใช้เส้นใยจากผ้าฝ้ายพื้นเมืองที่ปลูกกันเอง
– ภูมิปัญญาด้านการขยายแหล่งผลิตวัตถุดิบ และการพัฒนาการผลิตสี แบบวิถีชาวบ้าน การใช้ความรู้ทางการเกษตรฟื้นคืนการปลูกฝ้ายท้องถิ่นแบบอินทรีย์ รวมทั้งการอนุรักษ์กี่พื้นเมืองแบบสอด ให้ยังคงอยู่
– การทำห้อมเปียกสำหรับนำไปย้อมเสื้อม่อห้อม ล้วนเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาแต่ช้านาน คนรุ่นหลังอย่างเราควรที่จะช่วยเหลือและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามไว้ในการย้อมเสื้อม่อห้อม

ช่องทางการติดต่อ

ประธานชุมชน

นายสว่าง สีตือ

096-9824460

ผู้ประสานงาน

นางสาวสุพัตรา นุ่นวงกด

098-3092436