bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

เกี่ยวกับเรา / ประชุมและอบรมดูงาน

ประชุมและอบรมดูงาน

         ในสังคมโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดน การติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นํามาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกันกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนามนุษย์ให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเป็นแนวทางการปรับเปลี่ยนจากสังคมปัจจุบันไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมปัจจุบันถือเป็นสังคมที่เอ่อล้นไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นการนําข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ จําเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ในสังคมเป็นผู้ดําเนินการ ซึ่งคุณลักษณะสําคัญที่จะเอื้อให้การดําเนินการเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย คือการคิดใหม่ การคิดสร้างสรรค์ อาจมาจากความรู้เดิมมาปรับเข้ากับความรู้ใหม่ หรือผสานกับความคิดวิเคราะห์และประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นความรู้ใหม่จนได้ผลผลิตนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อการนําไปใช้ในอนาคต

          การประชุม อบรมดูงานเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพของชุมชน โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เกิดความรู้และประสบการณ์ องค์ความรู้ และสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการเพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านการผลิตสินค้าและบริการจากความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น สอดคล้องกับ BEDO Concept ทั้ง 3 ประการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

            1. การประชุม-อบรมดูงานภายในประเทศ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่

                          1) ประชุมใหญ่ชุมชนเครือข่ายชุมชน สพภ. จะมีการจัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในช่วงไตรมาสแรกของแต่ละปีงบประมาณ (ตุลาคม – ธันวาคม) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานของ สพภ. ภายใต้หลักการ BEDO Concept ในปีงบประมาณนั้น ๆ และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภารกิจของกลุ่มกิจการต่างๆ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานระหว่าง สพภ. และชุมชนเครือข่าย

                          2) ประชุมและศึกษาดูงานตามกลุ่มสาระ (Knowledge Based) จะมีการจัดขึ้น ในช่วงไตรมาสที่ 1 – 2 ของแต่ละปีงบประมาณ (ตุลาคม – มีนาคม) โดยเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนได้เรียนรู้ และเห็นศักยภาพ เกิดเครือข่าย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน มีมุมมองใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เหมาะสมกับชุมชนของตน นำองค์ความรู้ไปต่อยอดการดำเนินงานในชุมชนของตนเอง

                          3) ประชุมบ่มเพาะการดำเนินงาน/ส่งเสริมกิจกรรมชุมชน/สร้างชุมชนต้นแบบ (Focus group) เป็นกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเอง และมีการสร้างเครือข่ายกับชุมชนอื่นๆ โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างชุมชนและเครือข่าย และเป็นการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างกัน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนตามหลักการ BEDO Concept เพื่อยกระดับคุณภาพให้มีมาตรฐาน และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

              2. การประชุม-อบรมดูงานต่างประเทศ
                          สพภ. จะมีการจัดการประชุม-อบรมดูงานต่างประเทศอย่างน้อย 1 ครั้ง ด้วยการคัดเลือกตัวแทนชุมชนเครือข่าย ซึ่งการศึกษาดูงานต่างประเทศถือเป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ สําหรับการนํามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตสินค้าและบริการของชุมชนให้มีความทันสมัย และสามารถปรับตัวอยู่ในท้องตลาดได้ เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง สร้าง
ศักยภาพของชุมชนให้มีความรู้เท่าทันกระแสความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยใช้สหวิทยาการที่เกี่ยวข้องอันนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มีการปันรายได้ส่วนหนึ่งไปอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่ชุมชนตนเองใช้สร้างความมั่งคั่ง ให้มีความยั่งยืน สามารถเก็บหามาใช้ได้ตลอดเวลา จะนำพาไปสู่ความยั่งยืนของความมั่งคั่งในอนาคตสามารถใช้เป็นฐานการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของชุมชนภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานของ สพภ.

ประชุมและอบรมดูงาน

         ในสังคมโลกปัจจุบันเป็นโลกไร้พรมแดน การติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นํามาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกันกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนามนุษย์ให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเป็นแนวทางการปรับเปลี่ยนจากสังคมปัจจุบันไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมปัจจุบันถือเป็นสังคมที่เอ่อล้นไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ดังนั้นการนําข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ จําเป็นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ในสังคมเป็นผู้ดําเนินการ ซึ่งคุณลักษณะสําคัญที่จะเอื้อให้การดําเนินการเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย คือการคิดใหม่ การคิดสร้างสรรค์ อาจมาจากความรู้เดิมมาปรับเข้ากับความรู้ใหม่ หรือผสานกับความคิดวิเคราะห์และประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นความรู้ใหม่จนได้ผลผลิตนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อการนําไปใช้ในอนาคต

          การประชุม อบรมดูงานเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพของชุมชน โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เกิดความรู้และประสบการณ์ องค์ความรู้ และสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการเพิ่มพูนหรือพัฒนาสมรรถภาพในด้านการผลิตสินค้าและบริการจากความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น สอดคล้องกับ BEDO Concept ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้