bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

เกี่ยวกับเรา / BEDO CONCEPT

BEDO CONCEPT

           สพภ. ได้เดินหน้าตามวิสัยทัศน์ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งยกระดับหลักการของตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการจากความหลากหลายชีวภาพ (BioEconomy Promotion Mark) มาใช้เป็นหลักการดำเนินงานของ สพภ. กล่าวคือ

1) Local Content

             การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบโดยสนับสนุนองค์ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรชีวภาพ รวมถึงการใช้แรงงานและสถานที่ผลิตภายในชุมชน

2) Biodiversity-Friendly

             เน้นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ลดและเลี่ยงการใช้สารเคมีที่อาจส่งผลต่อระบบนิเวศรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์และฉลากด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใส่ใจในกระบวนการผลิตที่มีการป้องกันมลพิษ การลดปริมาณวัตถุดิบ ลดการใช้พลังงาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้า หรือการลด (Reduce) การนำเอาวัตถุดิบ วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้แล้วอยู่ในสภาพดีกลับมาใช้อีกหรือการใช้ซํ้า (Reuse) หรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิล (Recycle) รวมทั้งการบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ถูกต้องและเป็นรูปธรรม 

3) Future of the Origin

             มีการปันรายได้ส่วนหนึ่งกลับไปฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศในชุมชน ผู้ประกอบการที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพเป็นส่วนประกอบนั้น มีความรู้ความเข้าใจในคุณสมบัติของสารสำคัญจากทรัพยากรชีวภาพและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพที่ได้มาจากวิธีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ย่อมมีความปรารถนาที่จะอนุรักษ์ทั้งทรัพยากรชีวภาพโดยตรง และสภาพแวดล้อมโดยอ้อมของทรัพยากรหลักที่นำมาใช้ประโยชน์

              จากองค์ประกอบทั้งสามด้านของ BEDO’s Concept ที่กล่าวมาทั้งหมด นอกจากผู้บริโภคจะได้อุดหนุนสินค้าชุมชนซึ่งผลิตจากทรัพยากรชีวภาพที่อุดมไปด้วยคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพกลับคืนสู่ธรรมชาติ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้เช่นกัน ทั้งการตอบแทนระบบนิเวศโดยการคืนกลับทรัพยากรเข้าสู่ระบบหรือแม้กระทั่งในชีวิตประจำวันเราก็สามารถใช้ชีวิตที่ลดการพึ่งพาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ย่อยสลายยาก ก่อให้เกิดขยะ และลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองลง เมื่อมีการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้ ผู้ได้รับประโยชน์ควรที่จะสนับสนุนในการตอบแทนระบบนิเวศโดยการปันรายได้บางส่วนเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพอย่างเหมาะสม เพื่อให้เราและชนรุ่นหลังสามารถมีกิน มีใช้ได้อย่างยั่งยืน

สพภ. ได้เดินหน้าตามวิสัยทัศน์ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งยกระดับหลักการของตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการจากความหลากหลายชีวภาพ (BioEconomy Promotion Mark) มาใช้เป็นหลักการดำเนินงานของ สพภ. กล่าวคือ

1) Local Content

การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบโดยสนับสนุนองค์ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากรชีวภาพ รวมถึงการใช้แรงงานและสถานที่ผลิตภายในชุมชน

2) Biodiversity-Friendly

เน้นกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ลดและเลี่ยงการใช้สารเคมีที่อาจส่งผลต่อระบบนิเวศรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์และฉลากด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใส่ใจในกระบวนการผลิตที่มีการป้องกันมลพิษ การลดปริมาณวัตถุดิบ ลดการใช้พลังงาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้า หรือการลด (Reduce) การนำเอาวัตถุดิบ วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้แล้วอยู่ในสภาพดีกลับมาใช้อีกหรือการใช้ซํ้า (Reuse) หรือแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่หรือการรีไซเคิล (Recycle) รวมทั้งการบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ถูกต้องและเป็นรูปธรรม

3) Future of the Origin

มีการปันรายได้ส่วนหนึ่งกลับไปฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศในชุมชน ผู้ประกอบการที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพเป็นส่วนประกอบนั้น มีความรู้ความเข้าใจในคุณสมบัติของสารสำคัญจากทรัพยากรชีวภาพและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพที่ได้มาจากวิธีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม ย่อมมีความปรารถนาที่จะอนุรักษ์ทั้งทรัพยากรชีวภาพโดยตรง และสภาพแวดล้อมโดยอ้อมของทรัพยากรหลักที่นำมาใช้ประโยชน์

จากองค์ประกอบทั้งสามด้านของ BEDO’s Concept ที่กล่าวมาทั้งหมด นอกจากผู้บริโภคจะได้อุดหนุนสินค้าชุมชนซึ่งผลิตจากทรัพยากรชีวภาพที่อุดมไปด้วยคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพกลับคืนสู่ธรรมชาติ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้เช่นกัน ทั้งการตอบแทนระบบนิเวศโดยการคืนกลับทรัพยากรเข้าสู่ระบบหรือแม้กระทั่งในชีวิตประจำวันเราก็สามารถใช้ชีวิตที่ลดการพึ่งพาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ย่อยสลายยาก ก่อให้เกิดขยะ และลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองลง เมื่อมีการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้ ผู้ได้รับประโยชน์ควรที่จะสนับสนุนในการตอบแทนระบบนิเวศโดยการปันรายได้บางส่วนเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพอย่างเหมาะสม เพื่อให้เราและชนรุ่นหลังสามารถมีกิน มีใช้ได้อย่างยั่งยืน