เกี่ยวกับเรา / กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
- เครื่องมือการดำเนินงาน
- ประชุมอบรมและดูงาน
- สนับสนุนงบประมาณโครงการ
- วิจัยพัฒนาสินค้า บริการชุมชน
- พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์
- ตรา BioEconomy
- ชุมชนต้นแบบ
- คนรุ่นใหม่
- ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- พื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์
- มูลค่าบริการระบบนิเวศ
- การจัดเก็บรายได้รวม
- การแบ่งปันรายได้สู่การอนูรักษ์ (PES) ของชุมชน
- ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier Effect)
- ความสุขชุมชน (GCH)
- ระบบบริหารจัดการและประมวลผลข้อมูล (Dashboard)
กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

“เศรษฐกิจชุมชน” หากหลายคนได้ยินคํานี้อาจจะมองว่าเป็นเม็ดเงินเล็กๆ ที่หมุนเวียนอยู่ภายในท้องถิ่น แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าพื้นที่เล็กๆ เหล่านี้เป็นสัดส่วนขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสังคมเมืองที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ทรัพยากรชีวภาพภายในชุมชนผนวกเข้า กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถสร้าง รายได้ให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งเมื่อรวบรวมทั้งประเทศสามารถนําพา ประเทศไปสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนได้ สํานักงานพัฒนา เศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. เล็งเห็นถึงความมั่นคงของฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่งคั่งในระดับชมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นห่วงโซ่สําคัญของเศรษฐกิจระดับประเทศ จึงได้นําหลักการของความมั่งคั่งมาดําเนินงานให้ชมชนท้องถิ่นมีรายได้จากความหลากหลายทางชีวภาพบนความยั่งยืนให้ “การสร้างรายได้ เป็นเครื่องมือการอนุรักษ์” ด้วยบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพโดยเน้นการนำทุนธรรมชาติ (Natural Capital) ซึ่งหมายถึงทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนควบคู่กับวิทยาการใหม่ๆ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานของการอนุรักษ์อย่างมีดุลยภาพ เพื่อสร้างโอกาสให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ และกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการใหม่
สพภ. จึงได้นำหลักการของความมั่นคง มั่งคั่งมาดำเนินงานให้ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้จากความหลากหลายทางชีวภาพบนความยั่งยืน ให้มี “การสร้างรายได้เป็นเครื่องมือการอนุรักษ์” ตามหลักการ BEDO Concept 3 ประการ ได้แก่
- การใช้ทรัพยากรชีวภาพชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบหลัก
- การผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
- การปันรายได้ไปอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศ
หลักการดังกล่าวเป็นการทำงานเพื่อต่อยอดการอนุรักษ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ผู้สูงวัยมีงานทำ คนรุ่นใหม่กลับมาอยู่บ้าน คนในชุมชนท้องถิ่นซึ่งอยู่ติดฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพสามารถนำทรัพยากรมาต่อยอดสร้างรายได้อย่างยั่งยืน เมื่อมีรายได้ ก็จะเห็นคุณค่า จะมีการเก็บรักษาและใช้อย่างคุ้มค่า และเป็นกำลังสำคัญให้การอนุรักษ์ รักษา ฟื้นฟู แหล่งทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนท้องถิ่นให้คงอยู่ยั่งยืน ตลอดไป
กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน มีภารกิจในการสร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริมศักยภาพชุมชนให้สามารถนำทรัพยากรชีวภาพมาสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางการตลาดและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน บริหารจัดการ ศูนย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์และอนุกรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถื่น บูรณาการด้านการพัฒนาเครือข่ายและขยายความร่วมมือของชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

สพภ. จึงได้นำหลักการของความมั่นคง มั่งคั่งมาดำเนินงานให้ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้จากความหลากหลายทางชีวภาพบนความยั่งยืน ให้มี “การสร้างรายได้เป็นเครื่องมือการอนุรักษ์” ตามหลักการ BEDO Concept 3 ประการ ได้แก่
- การใช้ทรัพยากรชีวภาพชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบหลัก
- การผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
- การปันรายได้ไปอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศ
กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน มีภารกิจในการสร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริมศักยภาพชุมชนให้สามารถนำทรัพยากรชีวภาพมาสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางการตลาดและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน บริหารจัดการ ศูนย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์และอนุกรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถื่น บูรณาการด้านการพัฒนาเครือข่ายและขยายความร่วมมือของชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย