เกี่ยวกับเรา / พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์
- เครื่องมือการดำเนินงาน
- ประชุมอบรมและดูงาน
- สนับสนุนงบประมาณโครงการ
- วิจัยพัฒนาสินค้า บริการชุมชน
- พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์
- ตรา BioEconomy
- ชุมชนต้นแบบ
- คนรุ่นใหม่
- ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- พื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์
- มูลค่าบริการระบบนิเวศ
- การจัดเก็บรายได้รวม
- การแบ่งปันรายได้สู่การอนูรักษ์ (PES) ของชุมชน
- ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier Effect)
- ความสุขชุมชน (GCH)
- ระบบบริหารจัดการและประมวลผลข้อมูล (Dashboard)
พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์
เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชน ให้มีความสวยงามและโดดเด่น มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากท้องตลาด ส่งเสริมให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมกับการสนองนโยบายลดใช้พลาสติกที่ไม่สามารถใช้ซ้ำได้ (Single-use plastic หรือ Disposable plastics) โดยเปลี่ยนเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ ซึ่งสอดคล้องกับ BEDO Concept ซึ่งนอกจากผู้บริโภคจะได้อุดหนุนสินค้าชุมชนซึ่งผลิตจากทรัพยากรชีวภาพที่อุดมไปด้วยคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพกลับคืนสู่ธรรมชาติ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้เช่นกัน
สพภ. จึงส่งเสริม สนับสนุน และเชื่อมโยงให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญในการวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจของชุมชย บนความร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาและพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้เกิดการวิจัยพัฒนาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ (Food Innovation Policy and Research and Development Support to Thailand’s Country Strategy), การจัดทำนโยบายด้านนวัตกรรมอาหาร และการสร้างงานวิจัย และพัฒนาด้านอาหารเพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของพื้นที่และของประเทศ การร่วมวิจัยและพัฒนากับภาคอุตสาหกรรม (Food Collaborative Research and Business Development), การทำโครงการวิจัยร่วมตามโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการส่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปร่วมในการวิจัย และพัฒนา รวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรมให้แก่ชุมชน
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-packaging) คือ บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ผลิตออกมาโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติ หรือวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ eco-packaging ไม่ได้เป็นแค่เพียงบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องสินค้าแต่ยังช่วยปกป้องมลภาวะของโลกอีกด้วย ในปัจจุบันภัยจากธรรมชาติทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งก็มีปัจจัยมาจากขยะที่มากเกินและย่อยสลายไม่ทัน ข้อดีของบรรจุภัณฑ์รูปแบบนี้นอกจากเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้า รวมไปถึงการป้องกันสินค้าภายใน คุณสมบัติของ eco-packaging ก็ยังสามารถบรรจุสิ่งของได้ทั้งร้อนและเย็น บรรจุของเหลวได้โดยที่ไม่รั่วซึมและยังสามารถนำบรรจุภัณฑ์เข้าไมโครเวฟได้ และมีการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในการผลิตเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ มีระยะเวลาการย่อยสลายของ eco-packaging ใช้เวลาเพียงแค่ 45 วัน
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ หรือ Bio Packaging ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีการออกแบบโดยลดปริมาณขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ สามารถย่อยสลายได้ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์ยังคงทำหน้าที่ในการใช้งานและปกป้องสินค้าได้เช่นเดิม ในปัจจุบันได้มีการคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น รวมถึงในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลเสียต่อธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จึงทําให้หลายฝ่ายเริ่มหันมาตระหนักว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงการผลิตในกระบวนการใดได้บ้างที่จะลดหรือปลอดจากการใช้สารเคมี
Bio-base Plastic Packaging หรือ พลาสติกชีวภาพ เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพ วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่จะทําจากพืช เช่น เซลลูโลส, คอลลาเจน, เคซีน, แป้ง, และโปรตีนจากถั่ว เป็นต้น กระบวนการย่อยสลายของพลาสติกชีวภาพ เมื่อบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพย่อยสลายแล้วจะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชรวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีพลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ (Environmentally Degradable Plastics: EDP) หมายถึง พลาสติกที่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงสมบัติเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ในสภาวะแวดล้อม เช่น กรด ด่าง น้ำ และออกซิเจนในธรรมชาติ แสงจากดวงอาทิตย์ แรงเค้นจากการกระทบของเม็ดฝนและแรงลม หรือจากเอนไซม์ของจุลินทรีย์ และ Edible-Packaging ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์แนวใหม่ที่กําลังได้รับความสนใจ โดยออกแบบให้ตัวของบรรจุภัณฑ์สามารถนํามารับประทานได้ ทํามาจากโปรตีนนม, สาหร่าย ฯลฯ เป็นต้น ในส่วนของ Eco-Packaging ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทํามาจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบไม้ กะลามะพร้าว ดินเผา ฯลฯ แต่ของเหล่านี้ไม่เหมาะกับการบริโภคแบบเร่งรีบและวัสดุบางอย่างก็เสียง่าย ซึ่งการนำกลับมาใช้ในเชิงเศรษฐกิจจริงจึงต้องดัดแปลงให้เหมือนกับอุปกรณ์ในปัจจุบัน



