เกี่ยวกับเรา / ชุมชนต้นแบบ
- เครื่องมือการดำเนินงาน
- ประชุมอบรมและดูงาน
- สนับสนุนงบประมาณโครงการ
- วิจัยพัฒนาสินค้า บริการชุมชน
- พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์
- ตรา BioEconomy
- ชุมชนต้นแบบ
- คนรุ่นใหม่
- ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- พื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์
- มูลค่าบริการระบบนิเวศ
- การจัดเก็บรายได้รวม
- การแบ่งปันรายได้สู่การอนูรักษ์ (PES) ของชุมชน
- ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier Effect)
- ความสุขชุมชน (GCH)
- ระบบบริหารจัดการและประมวลผลข้อมูล (Dashboard)
ชุมชนต้นแบบ
การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยบริหารจัดการภายใต้กิจกรรมชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นภารกิจหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะดำเนินการเพื่อให้ชุมชนมีข้อมูลองค์ความรู้ มีแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างยั่งยืน และดำเนินการตามแผนเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของชุมชน โดยกำหนดแนวทางดำเนินงานและกิจกรรม ประกอบด้วย การศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพ และการอนุรักษ์ กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ของชุมชนและตลาด เพื่อประเมินความพร้อมของกลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการนำมาต่อยอดเชิงเศรษฐกิจ การจัดทำแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างยั่งยืน แผนงานโครงการ และงบประมาณในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ และหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาดังกล่าว เพื่อนำผลการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายไปพัฒนาเป็นต้นแบบด้านการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพต่อไป
สพภ. ได้กำหนดเป้าหมายในการจัดตั้งชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งจัดแสดง/จำหน่ายผลิตภัณฑ์ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งประสานความร่วมมือ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเครือข่าย นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และผู้ที่สนใจในการดำเนินธุรกิจจากฐานชีวภาพ รวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ และเกิดเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ ที่เข้าร่วมสนับสนุนการดำเนินงานและมีผู้ที่สนใจได้รับความรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ฯ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายที่จะนำไปสู่ชุมชนต้นแบบ และขยายแนวคิดการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (ขยายแนวคิด BEDO Concept) อีกทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้และสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมทั้งชุมชนให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ดูแลพื้นที่ป่า/ระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชีวภาพ
ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2563 มีการจัดตั้งชุมชนต้นแบบการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว จำนวน 20 แห่ง ดังนี้