bedo-logo
mnre-logo

กลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)

-->

เกี่ยวกับเรา / Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว

Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว

          ในปีงบประมาณ 2562 สพภ. ได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนภารกิจของ สพภ.  โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่า ผ่านอุปกรณ์ Smart Phone ในรูปแบบ Application ที่ ทันสมัย เหมาะกับวิถีชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน และยกระดับให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูลและทำความเข้าใจกับภารกิจของ สพภ. โดยเฉพาะเรื่องโครงการชุมชนไม้มีค่า ป่าครอบครัว และนโยบายรัฐบาลที่กำหนดเป้าหมายพื้นที่สีเขียวของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 ภายในปี พ.ศ. 2579 จำแนกเป้าหมายเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ของรัฐร้อยละ 25 และพื้นที่นอกพื้นที่อนุรักษ์ร้อยละ 15

          การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่า นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่าผ่านอุปกรณ์ Smart Phone ในรูปแบบ Application แล้ว ยังต้องการที่จะจัดทำฐานข้อมูลไม้มีค่ารายแปลง โดยมีเป้าหมายให้สามารถใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกไม้มีค่าในกับชุมชน สามารถใช้ติดตามข้อมูลรายแปลงการปลูกไม้มีค่าของชุมชนในการร่วมกันสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และมีฐานข้อมูลรายแปลงและระบบตรวจสอบการปลูกไม้มีค่า เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศไทย

          การดำเนินงาน เริ่มจากศึกษาความต้องการของผู้ใช้งาน (User Requirement) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำการรวบรวมข้อมูลภูมิสารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกไม้มีค่า เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาออกแบบและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อรองรับนำเข้าข้อมูลไม้มีค่ารายแปลง วิเคราะห์และพัฒนาแอปพลิเคชัน ทดสอบพร้อมติดตั้งแอปพลิเคชันบน Play Store และ App Store โดยคุณสมบัติทั่วไปของแอปพลิเคชัน ได้แก่

          1. สามารถรองรับการใช้งานผ่าน SmartPhone ทั้งบนระบบปฏิบัติการ IOS และระบบปฏิบัติการ Android สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งผ่าน Play Store ได้

          2. ออกแบบ User Experience (UX) และ User Interface (UI) ให้สามารถเข้าใจและใช้งานง่าย รองรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต GPRS, Edge, 3G, 4G และ Wi-Fi

          3. กำหนดสิทธิ์กลุ่มผู้ใช้งาน ออกเป็น 3 ระดับ  ได้แก่ 1) ผู้ดูแลระบบ  2) สมาชิก และ 3) ประชาชน

          4. รองรับการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน

          5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่า

          6. การนำเข้าข้อมูลรายแปลงไม้มีค่า

          7. สามารถแสดงผลในรูปแบบสถิติ (Dashboard)

          8. การสรุปข้อมูลในรูปแบบรายงาน (Report)

          9. แสดงข้อมูลภูมิสารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกไม้มีค่าในรูปแบบ WMS

          10. แสดงผลข้อมูลร่วมกับแผนที่

Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว

          ในปีงบประมาณ 2562 สพภ. ได้ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้สนับสนุนภารกิจของ สพภ.  โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่า ผ่านอุปกรณ์ Smart Phone ในรูปแบบ Application ที่ ทันสมัย เหมาะกับวิถีชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน และยกระดับให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงข้อมูลและทำความเข้าใจกับภารกิจของ สพภ. โดยเฉพาะเรื่องโครงการชุมชนไม้มีค่า ป่าครอบครัว และนโยบายรัฐบาลที่กำหนดเป้าหมายพื้นที่สีเขียวของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 ภายในปี พ.ศ. 2579 จำแนกเป้าหมายเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ของรัฐร้อยละ 25 และพื้นที่นอกพื้นที่อนุรักษ์ร้อยละ 15

          การพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่า นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่าผ่านอุปกรณ์ Smart Phone ในรูปแบบ Application แล้ว ยังต้องการที่จะจัดทำฐานข้อมูลไม้มีค่ารายแปลง โดยมีเป้าหมายให้สามารถใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกไม้มีค่าในกับชุมชน สามารถใช้ติดตามข้อมูลรายแปลงการปลูกไม้มีค่าของชุมชนในการร่วมกันสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และมีฐานข้อมูลรายแปลงและระบบตรวจสอบการปลูกไม้มีค่า เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศไทย

          การดำเนินงาน เริ่มจากศึกษาความต้องการของผู้ใช้งาน (User Requirement) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำการรวบรวมข้อมูลภูมิสารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกไม้มีค่า เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาออกแบบและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อรองรับนำเข้าข้อมูลไม้มีค่ารายแปลง วิเคราะห์และพัฒนาแอปพลิเคชัน ทดสอบพร้อมติดตั้งแอปพลิเคชันบน Play Store และ App Store โดยคุณสมบัติทั่วไปของแอปพลิเคชัน ได้แก่

          1. สามารถรองรับการใช้งานผ่าน SmartPhone ทั้งบนระบบปฏิบัติการ IOS และระบบปฏิบัติการ Android สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งผ่าน Play Store ได้

          2. ออกแบบ User Experience (UX) และ User Interface (UI) ให้สามารถเข้าใจและใช้งานง่าย รองรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต GPRS, Edge, 3G, 4G และ Wi-Fi

          3. กำหนดสิทธิ์กลุ่มผู้ใช้งาน ออกเป็น 3 ระดับ  ได้แก่ 1) ผู้ดูแลระบบ  2) สมาชิก และ 3) ประชาชน

          4. รองรับการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน

          5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจปลูกไม้มีค่า

          6. การนำเข้าข้อมูลรายแปลงไม้มีค่า

          7. สามารถแสดงผลในรูปแบบสถิติ (Dashboard)

          8. การสรุปข้อมูลในรูปแบบรายงาน (Report)

          9. แสดงข้อมูลภูมิสารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลูกไม้มีค่าในรูปแบบ WMS

          10. แสดงผลข้อมูลร่วมกับแผนที่