เกี่ยวกับเรา / การแบ่งปันรายได้สู่การอนูรักษ์ (PES) ของชุมชน
- เครื่องมือการดำเนินงาน
- ประชุมอบรมและดูงาน
- สนับสนุนงบประมาณโครงการ
- วิจัยพัฒนาสินค้า บริการชุมชน
- พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์
- ตรา BioEconomy
- ชุมชนต้นแบบ
- คนรุ่นใหม่
- ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- พื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์
- มูลค่าบริการระบบนิเวศ
- การจัดเก็บรายได้รวม
- การแบ่งปันรายได้สู่การอนูรักษ์ (PES) ของชุมชน
- ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier Effect)
- ความสุขชุมชน (GCH)
- ระบบบริหารจัดการและประมวลผลข้อมูล (Dashboard)
การแบ่งปันรายได้สู่การอนูรักษ์ (PES) ของชุมชน
PES หรือ Payment for Environmental Services คือ การจ่ายค่าตอบแทนคุณค่าสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ถูกทดสอบและพัฒนาจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแถบละตินอเมริกา โดยภูมิภาคเอเชียเพิ่งมีการนำมาต่อยอดพัฒนาในประเทศเวียดนาม ให้เป็นประเทศนำร่องในการจัดทำนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้
PES เป็นกลไกสำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ
1. บทบาทในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
2. ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
3. ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีความเชื่อว่าระบบนิเวศที่เสื่อมลง จะทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์น้อยลงและย่อมส่งผลให้ต้นทุนทางสังคมเพิ่มสูงขึ้น
หลักการของ PES คือบุคคลหรือกลุ่มคนที่ดูแลรักษาระบบนิเวศและธรรมชาติควรจะได้รับค่าชดเชยหรือผลตอบแทน และบุคคลหรือกลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศควรจะต้องจ่ายเพื่อแลกเปลี่ยนกับประโยชน์ที่ได้รับ โดยรูปแบบของการชดเชยหรือการให้ผลตอบแทนอาจจะอยู่ในรูปของตัวเงิน การลดหย่อนภาษีหรือค่าธรรมเนียม ความมั่นคงในการถือครองที่ดิน หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การให้บริการของระบบนิเวศมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจจํานวนมหาศาล แต่ชุมชนซึ่งมีส่วนในการดูแลรักษาระบบนิเวศ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา ขาดที่ดินทํากินและได้รับบริการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่จํากัด สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความต้องการอาหารของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งนโยบายการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทําให้มีการเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ทํากิน เพื่อสร้างรายได้และแก้ไขความยากจน เป็นแรงกดดันต่อการสูญเสียพื้นที่อนุรักษ์และการให้บริการของระบบนิเวศโดยรวมความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การท่องเที่ยว การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ําเพื่อการผลิตพลังงาน ภาคเกษตรกรรม และการอุปโภค บริโภค และทําให้เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หรือสาธารณชนต้องจ่ายแทนกระแสสังคม ที่เริ่มตระหนักและให้ความสําคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เท่า ๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนในการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ที่ชัดเจน ความเร่งด่วนในการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการให้บริการของระบบนิเวศ เพื่อสร้างความตระหนักของผู้ใช้ประโยชน์จากการให้บริการของระบบนิเวศ เช่น การทําหน้าที่ของป่าไม้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ควบคุมปริมาณน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายและการเกิดตะกอนดิน ควบคุมวัฏจักรของน้ําและสภาพอากาศ การดูดซับมลพิษ และการให้บริการด้านนันทนาการ ฯลฯ

