เกี่ยวกับเรา / ความสุขชุมชน (GCH)
- เครื่องมือการดำเนินงาน
- ประชุมอบรมและดูงาน
- สนับสนุนงบประมาณโครงการ
- วิจัยพัฒนาสินค้า บริการชุมชน
- พัฒนาหีบห่อบรรจุภัณฑ์
- ตรา BioEconomy
- ชุมชนต้นแบบ
- คนรุ่นใหม่
- ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- Application ชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว
- พื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์
- มูลค่าบริการระบบนิเวศ
- การจัดเก็บรายได้รวม
- การแบ่งปันรายได้สู่การอนูรักษ์ (PES) ของชุมชน
- ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ (Multiplier Effect)
- ความสุขชุมชน (GCH)
- ระบบบริหารจัดการและประมวลผลข้อมูล (Dashboard)
ความสุขชุมชน (GCH)
การพัฒนาตัวชี้วัดความสุขชุมชนมวลรวม (Gross Community Happiness, GCH) เป็นส่วนหนึ่งของความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness, GNH) ที่เป็นมิติใหม่ของการพัฒนาโดยมุ่งเน้นที่ความอยู่เย็นเป็นสุขทางสังคม (Social Well-Being) มีเป้าหมายของการใช้ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมอยู่ที่การแสวงหาเครื่องมือบ่งชี้ความเจริญของปัจเจกบุคคล ชุมชนและสังคมโดยรวมมากกว่าการใช้ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจแบบตะวันตกนิยมเพียงอย่างเดียว โดยความสุขมวลรวมเกี่ยวข้องกับความสุขในมิติอื่นๆ ของประชาชนทั้งในเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพใจ ครอบครัว ชุมชน การทำงาน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน วัฒนธรรมประเพณี การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การศึกษาความสุขชุมชนมวลรวม (Gross Community Happiness) ได้มีการศึกษาวิจัยมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น ประเทศภูฏาน โดยพบว่า ประเทศภูฏานมีการให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการของความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness, GNH) ซึ่งการวัดความสุขมวลรวมของประชาชนนั้นมีอยู่จริงและได้มีนักวิจัยทำการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง หากแต่การวัดความสุขนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเนื่องจาก คำว่า ความสุข มีการนิยามความหมายในหลากหลายมิติและยังไม่มีคำนิยามใดที่สมบูรณ์เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างแท้จริง ในขณะที่ ความสุขมวลรวม นิยามได้ว่ามันคืออะไร (Conceptualization) อันเป็นการประเมินภาพรวมของชีวิตของประชาชนที่ประกอบด้วย การอยู่เย็น เป็นสุข (Well-being) ความพึงพอใจในชีวิต (Life-satisfaction) คุณภาพชีวิต (Quality of life) และการพบกันระหว่างความคาดหวัง ความต้องการกับความเป็นจริงในชีวิต (Self-actualization)
นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า การนิยาม ความสุขมวลรวม (Gross Happiness) ที่มีการศึกษาวิจัยอยู่บนฐานคิดความจริงสำคัญ ๒ ประการ คือ ๑) ความสุขมวลรวมของคนเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เพียงแต่ว่าจะช้ากว่าหรือขึ้นลงน้อยกว่าความพึงพอใจ และ ๒) การวัดความสุขมวลรวมในการศึกษาวิจัย มุ่งเน้นเป้าหมายอยู่ที่การวัดเพื่อพยากรณ์ความสุขของปัจเจกบุคคล ขึ้นมาที่ละชั้นสู่ระดับความสุขระดับชุมชน อำเภอ จังหวัดและประเทศ โดยมีตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของประชาชนที่สำคัญประกอบด้วย
1) วัฒนธรรม ประเพณี 2) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3) สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 4) อาชีพการงานและการเงิน
5) ความพอเพียง 6) ชุมชน
7) ครอบครัว 8) สุขภาพกาย
9) สุขภาพใจ และ 10) รูปแบบการใช้ชีวิต
ซึ่งโดยสรุปภาพรวมผลการวัดความสุขชุมชนมวลรวม (GCH) ของประชาชน ปี 2562 ในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดน่าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยความสุขชุมชนมวลรวมพบว่าคิดเป็นร้อยละ 86.2 , 80.6 และ 80.7 ตามลำดับ